REGISTRATION (จดทะเบียนธุรกิจ)
5 เรื่องที่ต้องทำหลังจัดตั้งบริษัท !!
1.จัดให้มีผู้ทำบัญชี
ตามกฎหมายระบุไว้ว่า ธุรกิจที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว มีหน้าที่จัดทำบัญชีและงบการเงิน ให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีโดยผู้ทำบัญชีของบริษัท จะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตาม พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งอาจเป็นพนักงาน ผู้รับจ้างทำบัญชี ที่ได้รับอนุญาตและขึ้นทะเบียนผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชีและกรมพัฒนาธุรกิจอย่างถูกต้อง
2.จัดทำบัญชีของบริษัท
การจัดทำบัญชี จะต้องจัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้า และบัญชีประเภทอื่น ซึ่งการจัดทำบัญชีตามประเภทเหล่านี้จะต้องทำให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง โดยผู้ประกอบการต้องรวบรวมรวมทั้งบิลซื้อ – บิลขาย และเอกสารประกอบการลงบัญชีทุกรายการให้ครบถ้วน นำส่งให้พนักงานบัญชี หรือ สำนักงานบัญชีเพื่อดำเนินการลงบัญชีและปิดบัญชีตามรอบเวลา
โดยต้องปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นทำบัญชี และดำเนินการปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่วันปิดบัญชีครั้งแรก
3.จัดให้มีผู้สอบบัญชี
เพื่อตรวจสอบงบการเงิน และนำส่งงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบแล้วให้แก่ผู้ถือหุ้น เพื่ออนุมัติในการประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ภายใน 4 เดือนนับแต่วันที่ปิดบัญชี
4.จัดทำงบการเงิน
จะต้องจัดทำตามรอบบัญชีของบริษัท และงบการเงินของบริษัทจะต้องมีผู้สอบบัญชี เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของงบการเงิน ที่จะต้องนำไปใช้ยื่นในที่ประชุม และยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และนำส่งภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติงบการเงินจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
นอกจากนี้ ยังต้องนำส่งงบการเงินและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด. 50) ต่อกรมสรรพากรด้วย
5.ยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร
สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนบริษัทในรูปแบบนิติบุคคล มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และเสียภาษีตามกฎหมาย อย่างน้อยผู้ประกอบการก็จะต้องรู้ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราด้วย โดยภาษีที่เกี่ยวข้องหลัก ๆ ได้แก่
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีอื่นๆ เช่น ภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นหลักๆ ที่ผู้ประกอบการต้องรู้และต้องท แต่ก็ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ เช่น กรณีมีการจ้าง
พนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปจะต้องมีการแจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้าง และ ลูกจ้าง กับประกันสังคม ด้วยเป็นต้น
STARTUP vs SMEs แตกต่างกันยังไง??
ถึงแม้ว่า Startup กับ SME เป็นธุรกิจขนาดเล็กเหมือนกัน และคนมักจะเข้าใจผิดและมองว่า คือธุรกิจประเภทเดียวกันอยู่บ่อยครั้ง แต่จริงๆแล้ว ก็มีความแตกต่างกันนะคะ
SMEs กับ Startup แตกต่างกันอย่างไร??
1. รูปแบบธุรกิจ
SMEs : ธุรกิจที่ผลิตสินค้าหรือบริการ โดยต่อยอดจากสินค้าหรือบริการเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิม แต่มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือพึ่งพานวัตกรรมในการริเริ่มใหม่ และไม่ได้ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเกิดการเปลี่ยนแปลง
Startup : ธุรกิจที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งด้วยวิธีใหม่ๆ ต้องใช้ไอเดียหรือคิดค้นสิ่งใหม่ โดยใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ หรือ อาจมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย คอยปรับตัวตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และต้องสร้างสินค้าที่คนส่วนใหญ่ต้องการหรือทำให้คนใช้ชีวิตง่ายขึ้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่และเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คน
2. ขนาดองค์กร
SMEs : มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี นั่นจึงทำให้ขนาดของ SME ถูกจำกัดไปด้วย
Startup : ไม่ได้จำกัดว่าต้องมีขนาดเล็กเสมอไป บางกิจการอาจจะเริ่มจากขนาดเล็กไป แต่พอทำไป ทำไป เกิดความสำเร็จ ก็จะมีขนาดใหญ่มากขึ้น ซึ่งก็จะไม่มีการจำกัดรายได้
3. แหล่งเงินทุนที่ใช้เริ่มต้นธุรกิจ
SMEs : เงินลงทุนมาจากทุนส่วนตัวหรือจากการกู้เงินจากสถาบันการเงิน
Startup : เงินลงทุนมาจากการระดมทุน อาศัยการลงทุนร่วม โดยหากมีไอเดียดีๆ นักลงทุนมีความสนใจในตัวธุรกิจดังกล่าวก็จะลงทุนให้ก่อน เพื่อผลประโยชน์ในอนาคต
4. การเติบโตของธุรกิจ
SMEs : เติบโตแบบคงที่ และอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะสำเร็จ
เนื่องจากทุกครั้งที่จะขยายธุรกิจย่อมจะหนีไม่พ้นเรื่องของการเพิ่มคน และการลงทุนเพิ่มในทรัพย์สิน ทำให้การขยายตัวเป็นไปได้ช้า ส่วนหนึ่งเพราะต้องรอกำไรจากผลประกอบการจึงจะนำเอามาลงทุนเพิ่ม ทำให้ทุกอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป
Startup : เติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ภายในระยะเวลาอันสั้น
5. สิทธิประโยชน์ทางภาษี
SMEs : อัตราภาษี ของ SME
กำไรสุทธิ 3 แสนบาทแรก ยกเว้นภาษี
กำไรสุทธิไม่เกิน 3 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรา 15%
กำไรสุทธิมากกว่า 3 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตรา 20%
เงื่อนไข : ต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร ดังนี้
1. ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
2. มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท
Startup : ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 รอบระยะเวลาบัญชี
เงื่อนไข : ต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร ดังนี้
1. จดทะเบียนจัดตั้ง ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 58 - 31 ธันวาคม 63 และยื่นคำขออนุมัติเป็น New Startup ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 64
2.มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจเท่านั้น (ท้องที่จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา)
3.มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท
4.มีรายได้จากการประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมด
5 เรื่องที่ผู้ประกอบการต้องรู้ ถ้าจะมีหุ้นส่วนทางธุรกิจ!!!!
การเลือกหุ้นส่วนธุรกิจ ก็เหมือนการเลือกหุ้นส่วนชีวิตซึ่งหมายถึงว่าเราจะต้องร่วมทางกับเขาไปอีกนานแสนนาน ดังนั้นเราจะต้องรู้จักอีกฝ่ายให้ดี
ต้องเรียนรู้นิสัยใจคอ และมีแนวคิดและเป้าหมายเดียวกันจึงจะไปต่อด้วยกันได้ เพราะถ้าเลือกไม่ดีไม่รู้จักกันมากพอ หรือเลือกหุ้นส่วนผิด
จะเกิดปัญหาวุ่นวายตามมาอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ ไม่ลงตัว การทุจริตหักหลังกัน ทะเลาะกันจนเสียเพื่อนไปก็มีให้เห็นกันอยู่เยอะ
การทำธุรกิจกับเพื่อน จึงมีเรื่องที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจอะไรบ้าง
1. มีเป้าหมายเดียวกัน
การทำธุรกิจร่วมกันเป็นเรื่องของการร่วมมือกัน จึงสำคัญมากที่คุณจะต้องมีวิสัยทัศน์ ร่วมกันตั้งแต่วันแรก เพื่อให้มุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
และมีมุมมองเดียวกันว่าจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร เมื่อคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนมันก็จะง่ายขึ้นในการทำเป้าหมายนั้นให้เป็นจริงร่วมกัน
2. แบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน
ต้องแบ่งหน้าที่การทำงานให้ชัดเจนว่า ใครรับผิดชอบเรื่องอะไร โดยดูจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาของแต่ละคน คุณอาจจะเก่ง
เรื่องการตลาด เก่งในด้านการขาย เหมาะกับการพบปะลูกค้า ในขณะเดียวกันหุ้นส่วนของคุณ อาจจะมีประสบการณ์ในการทำบัญชีเก่งใน
เรื่องการเงิน และตัวเลขมากกว่าคุณ การแบ่งหน้าที่การทำงานก็จะง่ายขึ้น เพราะคุณเองก็รู้อยู่แล้วว่าหน้าที่ไหน ที่ใครจะสามารถจัดการ
ได้ดีกว่าแถมยังเป็นการนำความรู้เฉพาะทาง ของแต่ละคนมาช่วยกันทำธุรกิจด้วย
3. ตัดสินใจร่วมกันและรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
3.1 หุ้นส่วนควรจะเป็นคนที่ช่วยทำให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.2 หุ้นส่วนจะต้องเห็นพ้องต้องกัน เวลาผลลัพธ์ออกมาไม่ดี ก็จะได้ไม่ต้องโทษกันและกัน
3.3 เวลามีความคิดเห็นไม่ตรงกัน คุณต้องหาวิธีพูดคุยแบบประนีประนอมเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งกัน
3.4 หากคุณมีหุ้นส่วนมากกว่า 2 คน เวลาตัดสินใจอะไร ก็ให้ใช้วิธีโหวตคะเเนนเสียง
4. มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
ความสัมพันธ์ที่ดีจะขึ้นอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจ ถ้าคุณไม่ไว้วางใจหรือไม่มั่นใจในตัวของหุ้นส่วน ทางที่ดีก็อย่าร่วมหุ้นกับคนๆ นั้นเลย
เพราะถ้าร่วมงานกันแล้วมัวแต่ระแวงสงสัยเช็คทุกเรื่อง มันจะทำให้ธุรกิจของคุณเกิดความเสี่ยงขึ้นได้
5. ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
สิ่งที่สำคัญมาก คือ ควรมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ให้ชัดเจน ตั้งแต่ต้นด้วย เช่น สัดส่วนการลงทุน จะลงทุนเท่าไร??
แบ่งผลประโยชน์อย่างไร?? ซึ่งในโลกของการทำธุรกิจนั้น “ไม่มีสัญญาใจ” นะคะ